หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

E-Commerce

E-Commerce

Electronic Business : ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

        คือ  กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่า "องค์การเครือข่ายร่วม" (Internetworked Network)  ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic Commerce)  การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน  หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร

Electronic Commerce : การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

        คือ  การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  การซื้อขายสินค้าและบริการ  การโฆษณา  ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  เป็นต้น  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

E-Commerce Infrastructure : โครงสร้างพื้นฐาน

        องค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน  ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
  1. ระบบเครือข่าย
  2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร
  3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา
  4. การรักษาความปลอดภัย

E-Commerce Supporting : การสนับสนุน

        ทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนช่วยของการประยุกต์ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน  มีองค์ประกอบ 5 ส่วนดังต่อไปนี้
  1. การพัฒนาระบบงาน
  2. การวางแผนกลยุทธ์
  3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  4. การจดทะเบียนโดเมนเนม
  5. การโปรโมทเว็บไซต์

 

การจัดการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  1. กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร(Profits Organization)
  • Business to Business (B2B)
  • Business to Customer (B2C)
  • Business to Business to Customer (B2B2C)
  • Customer to Customer (C2C)
  • Customer to Business (C2B)
  • Mobile Commerce
     2.  กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร(Non - Profit Organization)
  • Intrabusiness(Organization) E-Commerce
  • Business to Employee (B2E)
  • Government to Citizen (G2C)
  • Collaborative Commerce (C-Commerce)
  • Exchange to Exchange (E2E)
  • E-Leaming


E-Commerce Business Model

แบบจำลองทางธุรกิจ
        หมายถึง  วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้  นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
        ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากสมาชิกได้คือ  การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดีพอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค้าสมาชิก

 

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
        เป็นธุรกิจ E-commerce  ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E-commerce อื่น  ตัวอย่างของธุรกิจพื้นฐานในการศึกษา  ได้แก่ Consonus(ธุรกิจศูนย์ข้อมูล และ ASP), Pay Pal(ธุรกิจชำระเงินออนไลน์),  VeriSign(ธุรกิจออกใบรับรองดิจิตัล)  เป็นต้น  ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของตลาด  E-commerce

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
        เป็นธุรกิจที่รู้จักกันดีที่สุด  คนทั่วไปมักจะนึกถึงธุรกิจกลุ่มนี้  เช่น  Amazon(หนังสือ), 7dream(ของชำ), Ethio Gift(ของขวัญวันเทศกาลของเอธิโอเปีย) เป็นต้น  ปัจจัยสำคัญขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการส่งสินค้าและบริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า

ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
        การสร้างจุดเด่นที่แตกต่างจากธุรกิจแนวเดียวกันเป็นปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประเภทนี้ 

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
        การกำหนดมาตรฐานของข้อมูลและโปรกรมประยุกต์ของบริการต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันให้มีความสอดคล้องกัน  เช่น  Buyers.Gov(การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ)



ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
        ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C  คือ  ความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดีแต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย  ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก
        ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ C2C  คือ  ความสามารถในการสร้างความภักดีของลูกค้าและป้องกันการฉ้อโกงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
        ปัจจัยในความสำเร็จคือ  ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาด  ทำให้ตลาดมีสภาพคล่องมากพอ  จำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพัพธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้ซื้อ  หรือผู้ขายแล้วแต่กรณี



ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์



ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce


        ข้อดี
  • สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • มีอิสระในการขาย
  • ต้นทุนต่ำ
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  เช่น  ค่าเดินทาง
        ข้อเสีย
  • การดำเนินการด้านภาษียังไม่ชัดเจน
  • ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
  • ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
  • ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
  • ขาดกฏหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์

E-business Strategy

E-business Strategy

 

Strategy

        หมายถึง  การกำหนดทิศทางและแนวทางในการปฏิบัติ  ในอนาคตขององค์กรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้

E-strategy

        หมายถึง  วิธีการที่จะทำให้กลยุทธ์ขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  โดยการนำการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน  ทั้งการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร

Business Strategy

        คือ  กลยุทธ์ที่จะเชื่อมให้แบบจำลองทางธุรกิจเป็นจริงได้  ทำอย่างไรให้การสร้างมูลค่านั้นเป็นจริงได้  แล้วทอย่างไรที่จะส่งมูลค่านั้นให้ลูกค้าได้ดีที่สุด  และทำอย่างไรให้มันแตกต่าง  การทำธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เพียงแต่การสร้างธุรกิจออนไลน์  แต่เป็นการสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่าง  ซึ่งหลักในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนดังนี้
  1. กลยุทธ์การประเมิน(Strategic evaluation)
  2. กลยุทธ์การวางแผนวัตถุประสงค์(Strategic objectives)
  3. กลยุทธ์การกำหนดนิยาม(Strategy definition)
  4. กลยุทธ์การดำเนินงาน(Strategy implementation)

E-business Strategies : กลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์

        กลยุทธ์เป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กร  เปรียบเสมือนกับเหตุผลและความมุ่งหมายขององค์กร  ไม่เพียงแต่กลยุทธ์เท่านั้นที่สำคัญยังมีการวางแผนและการลงมือทำเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ธุรกิจเจริญเติบโตได้
        องค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  การสร้างช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ให้กับองค์กร  ซึ่งจะช่วยในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนหรือเหมาะสม  หากปราศจากการกำหนดเป้าหมาย  การดำเนินงานจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและติดขัด  กลยุทธ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องทำให้องค์กรมั่นใจว่าจะได้รับความพึงพอใจจากภายในและเกิดผลประโยชน์จากการนำเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มาใช้


รูปแบบที่แตกต่างกันของกลยุทธ์ขององค์กร

E-channel strategies

        E-channel  ย่อมาจาก  electronic channels  คือ  การสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า  ทั้งจากลูกค้าและคู่ค้า  โดยที่ช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถกำหนดวิธีการที่ใช้ทำงานร่วมกับช่องทางอื่นๆ จากหลายช่องทางของกลยุทธ์ E-business

        multi-channel  e-business strategy

        กลยุทธ์หลายช่องทาง e-business เป็นการกำหนดวิธีการทางการตลาดที่แตกต่าง  และช่องทางของห่วงโซ่อุปทาน  ดังนั้นจึงควรมีการบูรณาการและทุกๆ กลยุทธ์ควรจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน


       

Strategy process models for e-business


 
 
 

Strategy Formulation

  • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและภัยคุกคาม  เช่น  การเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  เทคโนโลยี  ตลาด  ลูกค้า  คู่แข่ง  และตลาดแรงงาน ฯลฯ
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ภายในเพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อน  เช่น  ด้านการตลาด  การผลิต  การเงิน  กฏระเบียบ  การจัดการ  และทรัพยากรบุคคล ฯลฯ
  • การกำหนดหรือทบทวนวิสัยทัศน์และภาระกิจขององค์กรเพื่อกำหนดให้แน่ชัด
  • การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรในระยะขอบเขตกลยุทธ์
  • การวิเคราะห์และเลือกกำหนดกลยุทธ์และแนวทางพัฒนาองค์กร

Strategic Implementation

  • การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
  • การวางแผนปฏิบัติการ(Action Plan) ที่ระบุกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องดำเนินการ
  • การปรับปรุงพัฒนาองค์กร  เช่น  ด้านทรัพยากรบุคคล  ด้านโครงสร้างระบบงาน

Strategic Control and Evaluation

  • การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์
  • การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการปรับแผนกลยุทธ์
 

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

E - ENVIRONMENT

Business Environment
        การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์  ของธุรกิจ การแข่งขันกันเชิงธุรกิจผู้ที่ชนะและสามารถครอบครองตลาดได้นั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ได้แก่
  1. สภาพแวดล้อมภายใน(Internal Environment)  คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้  หมายถึง  ปัจจัยต่างๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด  และควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด  โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ  ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
  2. สภาพแวดล้อมภายนอก(External Environment)  คือ  สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้  ปัจจัยกลุ่มนี้  หมายถึงปัจจัยภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด  คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ  โดยแบ่งได้ 2 ระดับ  คือ 
          2.1 สภาพแวดล้อมระดับจุลภาค(Micro External Environment)  คือ  สภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้  แต่สามารถเลือกที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  • ตลาดและลูกค้า
  • ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ
  • คนกลางทางการตลาด
  • สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์
 
          2.2 สภาพแวดล้อมระดับมหภาค(Macro External Environment)  คือ  สภาวะแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้  แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
  • ด้านการเมืองและกฏหมาย
  • เศรษฐกิจ
  • สังคม
  • เทคโนโลยี

 
 
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ
 

Strengths  จุดแข็ง 
        เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่  จุดแข็งจะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ  ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่างผู้บริหารและบุคลากร  หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่นมาสถานทางการเงินที่มั่นคง  บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ
 
Weaknesses  จุุดอ่อน
        เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ  อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด  ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ  ส่งผลร้ายถ้าไม่รีบแก้ไข  เช่น  ขาดสภาพคล่องทางการเงิน  สินค้าที่ผลิตไม่ได้คุณภาพ  ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร  ฯลฯ
 
Opportunity  โอกาส
        เป็นปัจจัยภายนอกธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้  แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ  เช่น  กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น  นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้  สินค้าคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ  ฯลฯ
 
Threats  อุปสรรค
        เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้เช่นกัน  แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายส่งผลเสียให้กับธุรกิจ  เช่น  รัฐบาลขึ้นภาษี  ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ  วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น  ภัยธรรมชาติ  ฯลฯ
 
การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย SWOT Matrix
 
 
กลยุทธิ์เชิงรุุก  (SO Strategy)
        เป็นการใช้จุดแข็งบนโอกาสที่มี  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็ง(S)และโอกาส(O)  มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธิ์เชิงรุก 
 

 
กลยุทธิ์เชิงป้องกัน  (ST Strategy)
        เป็นการใช้จุดแข็งป้องกันอุปสรรค  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อม   ที่เป็นจุดแข็ง(S) และข้อจำกัด(T)  มาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือ   กลยุทธิ์เชิงป้องกัน
 
 



กลยุทธิ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
        เป็นการขจัดจุดอ่อนโดยใช้โอกาส  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อม   ที่เป็นจุดอ่อน(W)และโอกาส(O)  มาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือ  กลยุทธิ์เชิงแก้ไข
 
 
 
กลยุทธิ์เชิงรับ (WT Strategy)
        เป้นการขจัดจุดอ่อนป้องกันอุปสรรค  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อม   ที่เป็นจุดอ่อน(W)และข้อจำกัด(T)  มาพิจารณาร่วมกัน  เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธิ์เชิงรับ
 
ปัจจัยทางสังคม (Social Factor)
        สภาวะแวดล้อมทางสังคม  มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ซื้อ เนื่องจากในแต่ละสังคม     มีแนวคิดหรือทัศนคติ  ค่านิยม  วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ครอบครัว  ชุมชน  จังหวัด  หรือแม้แต่ประเทศ  โดยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร  สถานภาพของบุคคล  และระดับชนชั้นทางสังคม  รวมถึงภูมิศาสตร์รอบๆ ธุรกิจด้วย  ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของผู้บริโภค  ทั้งสิน
 
ปัจจัยทางการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal Factor)
        เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนโยบายประกอบธุรกิจของประเทศ  โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย  นักลงทุนจึงอ่อนไหวกับปัจจัยทางการเมือง  เพราะเกี่ยวข้องกับกฎหมายและมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาลในสมัยนั้นๆ ไม่เป็นที่แน่นอน
 
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Economic)
        เศรษฐกิจเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นปริมาณการจัดสรรและการใช้ทรัพยกร  ปัจจัยทางเศรษฐกิจมีแรงผลักดันที่สำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ  เช่น  ผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ, ค่าเงินบาท, อัตราการว่างงาน, ภาวะราคาน้ำมัน, ปัจจัยด้านอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
 
ปัจจัยทางเทคโนโลยี (Technological Factor)
        ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามาก  ส่งผลกระทบต่อทิศทางและความก้าวหน้าขององค์กรธุรกิจ  เช่น  การใช้หุ่นยนต์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต  การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ส่งผลให้องค์กรต้องลดจำนวนพนักงานและต้องเพิ่มประสิทธิภาพนักงานที่เหลือ  และยังส่งผลไปถึงสถานที่  ห้องทำงาน  ลักษณะงาน  ค่าจ้าง  และสวัสดิการต่างๆ
 

 


วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเพณีลอยกระทง

วันลอยกระทง
        ประเพณีลอยกระทง หรือ ยี่เป็งในภาษาพื้นบ้าน  ตรงกับวันชึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี  งานวันลอยกระทงมีขึ้นเพื่อเป็นคนไทยได้ขอขมาต่อพระแม่คงคา        ที่ให้เราได้ใช้น้ำในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน  เช่นการอาบน้ำ(สมัยก่อน)  ใช้ในการเดินทาง  หรือใช้ในการเกษตร  เป็นต้น  และถือเป็นการสะเดาะเคราะห์  สำหรับตัวดิฉัน วันลอยกระทงถือว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา โดยเฉพาะวันกระทงใหญ่(ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 นั้นเอง) จะมีการแห่ขบวนกระทงของแต่ละหมู่บ้าน/อำเภอ โรงเรียน  ส่วนราชการ  ที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่  มีการประกวดนางนพมาศ  มีการจุดดอกไม้ไฟที่สวยงาม  ปล่อยโคมไฟ  และลอยกระทงที่เราทำมาจากบ้าน  เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์โดยเราจะใส่นิยมตัดเล็บ  เส้นผม  หรือเงินเหรียญลงไปด้วย    

        งานสีสันยี่เป็งเชียงใหม่  ณ.อนุสาวรีย์สามกษัตริย์

                           

        สีสันของโคมไฟ





        การทำกระทงใบตอง



        การทำเทียนประทีป



        การปล่อยโคมไฟสะเดาะเคราะห์




        การแสดงในงานยี่เป็งเชียงใหม่

วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

E-business infrastructure (ต่อ)

 
 

Blog (บล็อก)

        คือ  เว็บไซต์ที่เจ้าของ(Blogger)  สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บ  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่าย  ไม่ซับซ้อน  เพียงแค่มีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์และเว็บไซต์

 
 

Intranet Forum

        คือ  บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย  ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง  ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม

 

Wiki (วิกิ)

        คือ  ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มและแกไขเนื้อหาได้  ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน  วิกิเว็บไซต์มักจะถุูกนำมาใช้ในการรวมบทความ
 

 

Instant Messaging(อินสแตนท์ เมสเซจจิง  หรือ  เมสเซนเจอร์)

        คือ  ระบบการส่งข้อความทันที  ระหว่างสองคนหรือกลุ่มคน  เช่น  การส่งข้อความผ่าน MSN  การแชตในเฟสบุ๊ค

 

Folksonomy(ปัจเจกิธาน)

        คือ  อนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง  ซึ่งใช้ในการแบ่งหมวดหมู่และค้นหา  หน้าเว็บ  รูปภาพตัวเชื่อมโยงเว็บ  และเนื้อหาบนเว็บอื่นๆ โดยใช้การติดป้ายที่ไม่จำกัดข้อความ  โดยปกติ "โฟล์กโซโนมี"  ทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต  กระบวนการการติดป้ายแบบนี้เจตนาที่จะเพิ่มความง่ายในการค้นหา  และหาตำแหน่ง  เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ฟลิคเกอร์  และ  del.icio.us
 
 

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำถามท้ายบท

1.  E-Business  และ  E-Commerce  เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

     E-Business  คือการทำกิจกรรมทุกๆ อย่าง  ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งมีขอบเขต  กว้างกว่า  แต่  E-Commerce  จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น    ดังนั้น  E-Commerce จึงเป็นส่วนหนึ่งของ  E-Business 

2.  หาความหมายของคำต่อไปนี้
  • Business to Business (B2B)
         ผู้ประกอบการ  กับ  ผู้ประกอบการ  คือ การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้า  แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็น
 ผู้ประกอบการเช่นกัน ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่องการขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
  • Business to Customer (B2C)
          ผู้ประกอบการ  กับ  ผู้บริโภค  คือ  การค้าโดยตรงของผู้ค้ากับลูกค้า
  • Business to Business to Customer (B2B2C)
          เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง B2B  และ  B2C เข้าด้วยกัน  คือ องค์กรธุรกิจขายให้องค์กรด้วยกัน  แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง
  • Customer to Customer (C2C)
          ผู้บริโภค  กับ  ผู้บริโภค  คือ  การติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคด้วยกัน  มีหลายรูปแบบ  และวัตถุประสงค์  เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล  ข่าวสาร  ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน  หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง  ขายของมือสอง  เป็นต้น
  • Customer to Business (C2B)
          การที่ลูกค้าระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไปแล้วตัวองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า
  • Mobile Commerce
          M-Commerce คือ  การดำเนินกิจกรรมต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม  หรือการเงิน  โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ  และขายสินค้าต่างๆ  ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม  หรือนามธรรม  รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์  สิ่งที่น่าสนใจ  และจุดที่น่าศึกษา  คือ  โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จำกัด  ทำให้ตลาดการค้าออนไลน์  หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่  เพราะสะดวกสบาย  ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย  โดยM-Commerce  จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ  กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่(Business to Customer : B2C)  และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง(Business to Business : B2B)
 


วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Introduction to E-Business and E-Commerce



     E-Business  หรือ  ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์  คือ  กระบวนการหรือขั้นตอนใดๆ ในการดำเนินธุรกิจที่อาศัยระบบคอมพิวเตอร์สารสนเทศในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจ  จุดมุ่งหมายหลักที่จะสร้างคุณค่าเพิ่มกระบวนการหรือกิจกรรมทางธุรกิจ  และลดขั้นตอนของการใช้แรงงานคน  มาใช้แรงงานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  และช่วยให้การดำเนินงานภายใน  ภายนอก  และระหว่างองค์กรด้วยกัน

    E-Commerce  หรือ  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นการทำธุรกรรมทุกประเภท  ซื้อและขายสินค้าหรือบริการ  ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ  มือถือ  Gmail
      ประเภทของ E-Commerce
1.ผู้ประกอบการ  กับ  ผู้บริโภค (Business to Consumer- B2C)
2.ผู้ประกอบการ  กับ  ผู้ประกอบการ (Business to Business- B2B)
3.ผู้ประกอบการ  กับ  ภาครัฐภาค (Business to Government- B2G)
4.ผู้บริโภค  กับ  ผู้บริโภค (Consumer to Consumer- C2C)
5.ผู้บริโภค  กับ  ผู้ประกอบการ (Consumer to Business- C2B)
6.ผู้บริโภค  กับ  ภาครัฐ (Consumer to Government- C2G)
7.ภาครัฐ  กับ  ผู้บริโภค/ประชาชน (Government to Consumer)
8.ภาครัฐ  กับ  ผู้ประกอบการ (Government to Business- G2B)
9.ภาครัฐ  กับ  ภาครัฐ (Government to Government- G2G)


     ฉะนั้น  E-Commerce  จึงเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ E-Business  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์คือ  เครื่องฝากเงินอัตโนมัติของธนาคาร  ทำให้ลูกค้าไม่ต้องคอยต่อแถวฝากเงินเหมือนสมัยก่อน  หรือการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านเว็บไซด์ของกรมสรรพากร  เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง e-commerce  กับ  e-business
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  การดำเนินธุรกิจ  โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  การผลิต  การกระจาย  การตลาด  การขาย  หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์ และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย  เช่น  ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์  การค้าอิเล็กทรอนิกส์  อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  โทรสาร  การประชุมทางไกล  และรูปแบบต่างๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์  ทั้งในระดับองค์กร  และส่วนบุคคลบนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล  ที่มีทั้งข้อความ  เสียง  และภาพ
  • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  คือ  การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์  ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวล   และการส่งข้อมูลที่มีข้อความเสียง  และภาพ  ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  รวมถึงการขายสินค้า  และบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์  การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์  การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์  การจำหน่ายหุ้นทางอิเล็กทรอนิก  การให้บริการหลังการขาย



     โลกเสมือน (Virtual World)  คือ  การจำลองสภาพแวดล้อมที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้หลายคนพร้อมๆ กัน  ผ่านเครือข่ายออนไลน์
     
     Location Based Services (LBS)  เป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย  ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ  ซึ่งเป็นการค้นหาสถานที่  คน  สัตว์  หรือสิ่งของ
   
     บริการเครือข่ายสังคม (Social Network Service)  เป็นรูปแบบของเว็บไซต์  ในการสร้างเครือข่ายสังคม  สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตเขียนและอธิบายความสนใจ  และกิจการที่ได้ทำ  และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น  

     ระบบเครือข่ายแบบ Internet , Intranet และ Extranet

     อินเทอร์เน็ต (Internet)  คือ  เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้  นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน  เป็นการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวร  ขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ  ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

     อินทราเน็ต (Intranet)  คือ  ระบบเครือข่ายภายในที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร  โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายย่อยต่างๆ เข้าด้วยกัน  และนำมาใช้เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กร  ให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน

     เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)  หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร  คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร(Intranet)  เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร  เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย  หรือของลูกค้า  เป็นต้น  ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต  โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร  หรือผู้ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น  โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต  อาจถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ  เช่น  ผู้ดูแลระบบ  สมาชิก  คู่ค้า  หรือผู้สนใจทั่วไป  ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่ตกต่างกันไป